หน้าแรก ITA แบบสอบถามความฯ Facebook Admin webmail ติดต่อหน่วยงาน

-: ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง :-

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล


1.ด้านกายภาพ
1.1     ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง  ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  6 ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง 
จังหวัดบุรีรัมย์  ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลบ้านยาง  เป็นองค์การบริหารส่วนตำตำบลบ้านยาง            ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล  เมื่อวันที่  19  มกราคม  2539   ตำบลบ้านยางเป็นตำบลหนึ่งใน   7   ตำบล  ของอำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอพุทไธสง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ  9   กิโลเมตร   สูงจากระดับน้ำทะเล    140   เมตร      ตำบลบ้านยาง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ    61   ตารางกิโลเมตร   หรือประมาณ   38,125 ไร่
 

มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ  ดังนี้ คือ          
        ทิศเหนือ             ติดต่อกับตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
        ทิศใต้                 ติดต่อกับตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
        ทิศตะวันออก        ติดต่อกับตำบลสระขุด  อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์
        ทิศตะวันตก         ติดต่อกับตำบลมะเฟือง  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์


1.2     ภูมิประเทศ
 ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของตำบลบ้านยาง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมีระดับความสูง
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง   140  เมตร  มีแม่น้ำไหลผ่านทางทิศใต้ของตำบลเป็นแนวเขตติดกับกับอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์   และมีลำพังชูไหลผ่านทางทิศเหนือเป็นแนวแบ่งเขตกับอำเภอพยัคฆภูมิสัย  จังหวัดมหาสารคาม  และทางทิศตะวันออกเป็นแนวแบ่งกับอำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์  และทิศตะวันตกมีลำห้วยทรายซึ่งแบ่งเขตกับตำบลมะเฟือง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมีแม่น้ำมูลและแม่น้ำลำพังชูไหลผ่าน          จึงเหมาะสำหรับการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร  และสร้างทำนบ  ฝาย  เพื่อกักเก็บน้ำใช้เพื่อการเกษตร (มีราษฎรทำนามากกว่าร้อยละ  90  ของพื้นที่การเกษตร) และตำบลบ้านยางเป็นตำบลเดียวของอำเภอพุทไธสงที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์  และจังหวัดมหาสารคาม  ซึ่งมีชาวบ้านพูดภาษาท้องถิ่น (ภาษาเขมร) จำนวน  3  หมู่บ้าน  คือ  บ้านหนองเกาะ  หมู่ที่ 10  บ้านยางนกคู่  หมู่ที่  11 และบ้านแคนน้อย  หมู่ที่  16


1.3     ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลบ้านยาง  อำเภอพุทไธสง   มีสภาพภูมิอากาศร้อน  จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน  โดยมีระยะช่วงฤดูสลับกับช่วงอากาศแห้งแล้ง ซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน
 
1.4     ลักษณะของดิน     
ลักษณะโดยทั่วไปของตำบลบ้านยาง  มีดิน  7  ชุดคือ
-          ดินชุดร้อยเอ็ด
-          ดินชุดกุลาร้องไห้
-          ดินชุดท่าตูม
-          ดินชุดโคราชสีมา
-          ดินชุดน้ำพอง
-          ดินที่ประปนกันเกิดจากตะกอน  ลำน้ำ
-          ดินชุดสตึก
 
1.5     ลักษณะของแหล่งน้ำ
ตำบลบ้านยางมีแหล่งน้ำไหลผ่าน คือ
1.      แม่น้ำมูล
2.      ลำพังชู
 
1.6     ลักษณะของไม้/ป่าไม้
          ในพื้นที่ตำบลบ้านยาง  ไม่มีเขตป่าสงวนแห่งชาติมีแต่พื้นที่ป่าไม้ตามที่ดินสาธารณะและทำเลเลี้ยงสัตว์  
ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร

ประชากรในตำบลบ้านยาง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นสำคัญโดยเฉพาะ

การเพาะปลูกข้าว มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริม นอกจากนี้แล้วยังมีผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น  มะม่วง   มะพร้าว ถั่วลิสง ปอ ข้าวโพด ถั่วฝักยาว พริก เป็นต้น
 
          6.2 การประมง
                   จะมีการจับสัตว์น้ำเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวบ้าง เช่น  ปลา  เป็น
          6.3 การปศุสัตว์
                   สัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยง เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ โดยเป็นการเลี้ยงโดยธรรมชาติตามสวน ไร่นา ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้ใช้งานและบริโภคเองภายในครอบครัวแต่มีบางครัวเรือนที่เลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมเพิ่มให้กับครอบครัว
 
          6.4 การบริการ
                   สำหรับการสัญจรไปมาภายในมีการบริการจากรถโดยสารประจำทางซึ่งวิ่งจากอำเภอพุทไธสง ไปอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย   จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 และรถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก ซึ่งวิ่งจากอำเภอพุทไธสง ไปอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยเส้นทางหลวง หมายเลข  2081  และรถโดยสารประจำหมู่บ้าน รถสามล้อรับจ้าง  ส่วนการขนส่งผลผลิต   นอกจากจะใช้บริการจากรถรับจ้างต่าง ๆ แล้วยังมีรถส่วนบุคคลและ  รถจากพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อผลผลิตภายในหมู่บ้าน
          6.5 การท่องเที่ยว
                   ตำบลบ้านยางมีสถานที่เที่ยว  1  แห่ง  คือหมู่บ้านท่องเที่ยวไหม  บ้านหัวสะพาน
อำเภอพุทไธสง  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าไหมมานานสืบทอดต่อกันมาหลายรุ่น โดยเฉพาะหลังฤดูเก็บเกี่ยวจะมีการทอผ้าไหมขายเพื่อเป็นรายได้เสริม ซึ่งทำแบบต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขาย ทำให้ไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน  ต่อมาในปี 2553 จึงได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์ผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหัวสะพาน จำกัด ขึ้น โดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (บุรีรัมย์) ร่วมกับสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ สหกรณ์อำเภอพุทไธสง พร้อมด้วยสมาชิกผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านหัวสะพาน ภายใต้การสนับสนุนของกรมหม่อนไหม เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการปลูกหม่อน การเลี้ยงไหมวัยอ่อน การเลี้ยงไหมวัยแก่ และการผลิตเส้นไหมให้ได้ตามมาตรฐานเส้นไหมหัตถกรรมพร้อมการบริหารจัดการดักแด้ไหม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมของเกษตรกรในบริเวณแถบนี้ จนกลายเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในกลุ่มได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และยังถ่ายทอดภูมิปัญญาดังกล่าวสู่ลูกหลานเกษตรกรคนรุ่นใหม่ไม่ให้สูญหายไป

ภายในกลุ่มฯ จะมีการแบ่งงานกันทำ อย่างชัดเจนตามความชอบและความถนัดของสมาชิกแต่ละคน โดยจะมีทั้งฝ่ายเลี้ยงไหมใบอ่อน เลี้ยงไหมใบแก่ ทอ มัด ย้อม การตลาด และบัญชี ส่วนผลิตภัณฑ์นั้น สามารถทำได้ทุกรูปแบบ ไมว่าจะเป็น เส้นไหม  ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าซิ่นตีนแดง  ผ้ามัดหมี่เชิงแดง ผ้าไหมพื้นเรียบ ผ้าคลุมไหล่ และผ้าพันคอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการแปรรูปผ้าไหมเป็นหมอนสมุนไพร หมอนสามเหลี่ยม  หมอนทรงมะเฟือง หมอนทรงกระดูก และกระเป๋า เป็นงานฝีมือที่ทางกลุ่มผลิตเองทุกขั้นตอน
          6.6 อุตสาหกรรม
                   - อุตสาหกรรม   -         แห่ง
 
          6.7 การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ
                   - การพาณิชย์    -         แห่ง
                   - กลุ่มอาชีพ      2        กลุ่ม
สภาพทางสังคม

          4.1 การศึกษา
ตำบลบ้านยางมีโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน    8   แห่ง
              -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก          3                    แห่ง
                   1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจินดามณี
                   - อนุบาล         ชาย จำนวน      35      คน
                                      หญิง จำนวน     22      คน
                                      รวมทั้งหมด       57      คน
                   (ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจินดามณี เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559)
                   2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอัมภาวรินทร์
                   - อนุบาล         ชาย จำนวน      12      คน
                                      หญิง จำนวน     14      คน
                                      รวมทั้งหมด       26      คน
                   (ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอัมภาวรินทร์ เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559)
                   1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพรังสรรค์
                   - อนุบาล         ชาย จำนวน      18   คน
                                      หญิง จำนวน     16   คน
                                      รวมทั้งหมด       34   คน
                   (ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพรังสรรค์ เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559    )
 
              -  โรงเรียนประถมศึกษา       5    แห่ง
                   1. โรงเรียนบ้านเพียแก้ว (ประถมศึกษา ป.1-6,ขยายโอกาส ม.1-3)
                                      ชาย  จำนวน     67      คน
                                      หญิง   จำนวน   71      คน
                                      รวมทั้งหมด       138    คน
                   (ข้อมูลจากโรงเรียนบ้านเพียแก้ว เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559  )
2. โรงเรียนวัดเทพรังสรรค์ (ประถมศึกษา ป.1-6)
                                      ชาย  จำนวน     52      คน
                                      หญิง   จำนวน   47      คน
                                      รวมทั้งหมด       99      คน
   
(ข้อมูลจากโรงเรียนวัดเทพรังสรรค์ เมื่อวันที่  1  สิงหาคม  2559   )
 

3. โรงเรียนบ้านแคน (ประถมศึกษา ป.1-6,ขยายโอกาส ม.1- ม.3)
                                      ชาย  จำนวน     79      คน
                                      หญิง   จำนวน   68      คน
                                      รวมทั้งหมด       147    คน
                   (ข้อมูลจากโรงเรียนบ้านแคน เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559)
4. โรงเรียนบ้านยางนกคู่ (ประถมศึกษา ป.1-6)
                                      ชาย  จำนวน     33      คน
                                      หญิง   จำนวน   29      คน
                                      รวมทั้งหมด       62      คน
                   (ข้อมูลจากโรงเรียนบ้านยางนกคู่ เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559)
                   5. โรงเรียนบ้านดอนตูม (ประถมศึกษา ป.1-6)
                                      ชาย  จำนวน     27      คน
                                      หญิง   จำนวน   27      คน
                                      รวมทั้งหมด       54      คน
                   (ข้อมูลจากโรงเรียนบ้านดอนตูม เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม  2559)
                       - โรงเรียนอาชีวศึกษา            -                   แห่ง
                       - โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง       -                      แห่ง
          4.2 สาธารณสุข
   -    โรงพยาบาลของรัฐ  ขนาด – เตียง      -            แห่ง
   -    สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน      1           แห่ง  (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเพียแก้ว)
   -    สถานพยาบาลเอกชน                     -            แห่ง
   -     ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                 -            แห่ง
   -     อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ   100

3.ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
          ตำบลบ้านยาง มีทั้งหมด  18 หมู่บ้าน  มีจำนวน  2,095  หลังคาเรือน  มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น  8,375  คน  แยกเป็น  ชาย  4,210  คน  หญิง  4,165  คน
ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน/ครัวเรือน/ประชากร/จำนวนหมู่บ้าน/ครัวเรือน/ประชากร/ระดับการพัฒนา
 
หมู่ที่
หมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนหลังคา
เรือน (หลังคา)
ชาย หญิง รวม
1 บ้านยาง 158 137 295 76
2 บ้านโนนขี้เกลือ 119 123 242 64
3 บ้านน้อยหัวสะพาน 211 193 404 105
4 บ้านเพียแก้ว 214 194 408 132
5 บ้านหัวสะพาน 281 263 544 147
6 บ้านยาง 301 283 584 161
7 บ้านดอนตูม 286 259 545 121
8 บ้านแคน 362 386 748 165
9 บ้านผือฮี 347 313 660 156
10 บ้านหนองเกาะ 268 279 547 125
11 บ้านยางนกคู่ 211 213 424 103
12 บ้านดอนต้อน 238 249 487 122
13 บ้านหัวสะพาน 209 212 421 100
14 บ้านหัวสะพาน 169 171 340 94
15 บ้านแคน 244 273 517 128
16 บ้านแคนน้อย 198 200 398 94
17 บ้านสระบัว 196 210 406 110
18 บ้านหัวสะพาน 198 207 405 92
รวม 4,210 4,165 8,375 2,095
ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ  เดือนกันยายน  2559


3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ตำบลบ้านยาง มีทั้งหมด  มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น  8,375  คน  แยกเป็น  ชาย  4,210  คน  หญิง  4,165  คน  ซึ่งแบ่งเป็นช่วงอายุแยกจำนวนชายหญิง  ดังนี้
 
ที่ ช่วงอายุ ชาย หญิง รวม หมายเหตุ
1 น้อยกว่า  1  ปี 41 36 77
2 1  -  5 252 237 489
3 6  -  10 243 237 480
4 11  -  15 243 250 493
5 16  -  20 343 330 673
6 21  -  25 340 348 688
7 26  -  30 294 317 611
8 31  -  35 343 255 598
9 36 -  40 365 341 706
10 41  -  45 361 357 718
11 46  -  50 367 358 725
12 51  -  55 321 315 636
13 56  -  60 265 258 523
14 61  -  65 188 195 383
15 66  -  70 121 148 269
16 71  -  75 66 84 150
17 76  -  80 37 56 93
18 81  -  85 12 32 44
19 86  -  90 7 5 12
20 91  -  95 1 5 6
21 96  ปีขึ้นไป - - -
ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ  เดือนกันยายน  2559


ศาสนา  ประเพณี  วัฒนธรรม
          7.1 การนับถือศาสนา
                   ประชากรทั้งหมดในเขตตำบลบ้านยาง นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ  90  และศาสนาคริสต์ร้อย  ละ  10  ซึ่งมีวัดในตำบลจำนวน  9  วัด  และโบสถ์คริสต์  จำนวน  1  แห่ง ดังนี้
-          วัดเทพรังสรรค์
-          วัดจินดามณี
-          วัดทุ่งสว่างสุขารมย์
-          วัดตะเคียนทอง
-          วัดเทพนิมิตร
-          วัดศิริมงคล
-          วัดอัมภาวรินทร์
-          สำนักสงฆ์บ้านเพียแก้ว
-          สำนักสงฆ์บ้านดอนต้อน
 
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
    ประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมของชาวตำบลบ้านยาง  ส่วนมากจะผูกพันกับศาสนาและมีประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ประเพณีสำคัญที่ขึ้นชื่อคือ งานปิดทองหลวงปู่ขาว ซึ่งจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 1 -3 มกราคม  ของทุกปี นอกจากนี้ยังมีประเพณี คืองานประเพณีแซนโฎนตา (โดนตา)คืออีกประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายเขมร   บ้านหนองเกาะ หมู่  10  บ้านยางนกคู่  หมู่  11  และบ้านแคนน้อย         หมู่ 16 ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว  เครือญาติรวมถึงชุมชนต่างๆ โดยจะประกอบพิธิกรรมตรงกับวันแรม  14  ค่ำ  เดือน  10  ของทุกปีเมื่อวันแรม  14  ค่ำเดือน  10   นอกจากนี้ยังจัดให้มีงานในวันสำคัญต่าง ๆ  ตามประเพณีอีก เช่น วันสงกรานต์ในเดือนเมษายน  หรือวันลอยกระทงในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาท้องถิ่น
          - ภาษา
ตำบลบ้านยางเป็นเมืองเก่าที่มีประชากรหลายเชื้อชาติที่อพยพมาอาศัยอยู่ซึ่งมีภาษาถิ่นพูดกันหลายภาษาแบ่งออกได้เป็น   ดังนี้
- ภาษาเขมร ใช้อยู่ใน 3 หมู่บ้าน  คือ  บ้านหนองเกาะ  หมู่  10  บ้านยางนกคู่  หมู่  11 และบ้านแคนน้อย  หมู่  16
- ภาษาลาว ใช้พูดกันมากในท้องถิ่น
 
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
          - ผ้าซิ่นตีนแดง  และผลิตภัณฑ์จากไหม
 
ระบบบริการพื้นฐาน
          5.1 การคมนาคมพื้นฐาน
การคมนาคม ของตำบลบ้านยาง มีการคมนาคมทางบกเป็นสำคัญโดยมี
 
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  202   จากอำเภอประทาย  -  ยโสธร โดยผ่านตำบลมะเฟือง
 และตำบลบ้านยาง
-   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2081 จากอำเภอพุทไธสง ไปอำเภอชุมพลบุรี       
จังหวัดสุรินทร์ โดยผ่านตำบลมะเฟือง และตำบลบ้านยาง
-  นอกจากนี้ยังมีถนนคอนกรีต  ถนนหินคลุก  ถนนลูกรัง ถนนดิน ซึ่งแยกมาจาก
เส้นทางสายดังกล่าวมีโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างตำบล  หมู่บ้าน และอำเภอใกล้เคียง
           5.2 การไฟฟ้า
ตำบลบ้านยางมีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านแต่ยังไม่ครบทุกหลังคาเรือนโดยครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 
ประมาณร้อยละ 97 และครัวเรือน  ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ประมาณร้อยละ  3   และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอ พุทไธสง ได้ติดตั้งชุดโคมไฟถนน จำนวน  75  ชุด   ให้กับหมู่บ้าน   จำนวน  18  หมู่บ้านโดยติดตั้งหมู่บ้านละ  5  ชุด ตามโครงการไฟฟ้าสาธารณะหมู่บ้าน โดยได้ส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง
เมื่อวันที่  28  กรกฎาคม  2540 และองค์การบริหารส่วนตำบลได้ติดตั้งเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ  3  ชุด    รวมเป็น  54  ชุด  รวมกับของเดิมเป็น 129   ชุด
 
5.3 การประปา
ตำบลบ้านยางมีน้ำประปาอยู่    แยกเป็น
-ประปาผิวดิน
-ประปา
 
5.4 โทรศัพท์
 การติดต่อสื่อสารในตำบลบ้านยางร้อยละ  99  ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
 
5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
          - ไปรษณีย์                            -         แห่ง
          - การสื่อสาร                        -         แห่ง
          - การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์            -         แห่ง